หน้าที่สำคัญของ แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function)

หน้าที่สำคัญของ แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function) ที่ช่วยให้งานก่อสร้างออกมมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

แผ่นในสังเคราะห์ (Geotextile) เป็นวัสดุที่ผ่านการถักทอตามกระบวนการและเทคโนโลยี่ต่างๆ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น แข็งแรงและระบายน้ำได้ดีเมื่อถูกนำไปใช้งาน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของเคมีที่เกิดจากดินตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงถูกนำมาใช้ในงานวิศวกรรมโยธาอย่างหลากหลาย  ลองมาดูว่าหน้าที่สำคัญสุด ๆ ของ (Geotextile) หรือแผ่นใยสังเคราะห์ว่ามีอะไรบ้าง และช่วยในเรื่องใดได้บ้าง





หน้าที่ของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function) 

1. ช่วยแยกชั้นวัสดุ  (Separation)

วัตถุประสงค์หลัก คือการวางแผ่นใยสังเคราะห์ลงไประหว่างชั้นดินเพื่อช่วยแยกวัสดุชั้นต่าง ๆ ออกจากกัน ไม่ให้มาผสมรวมกัน ซึ่งจะทำให้การบดอัดเกิดขึ้นได้ดี เพิ่มความแข็งแรงและช่วยให้ดินบริเวณดังกล่าวมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม 

หรือสำหรับงานจัดสวน จะสามารถแยกชั้นวัสดุที่ไม่ต้องการให้มารวมกันได้ เช่น แยกชั้นทรายกับชั้นหิน หรือ ชั้นดินกับชั้นทราย ทำให้ได้งานปรับภูมิทัศน์ที่สวยตามที่ต้องการ


2. ป้องกันการกัดเซาะของดิน (Erosion control)

หากพื้นดินบริเวณใดไม่มีการดูแลหรือถูกปล่อยทิ้งเอาไว้โดยเฉพาะริมแม่น้ำหรือชายฝั่ง โอกาสที่จะเกิดการกัดเซาะมีสูงมากจากกระแสน้ำ น้ำฝนหรือลมที่ค่อย ๆ ทำให้ดินพังทลายลง 

ดังนั้นเราสามารถป้องกันการกัดเซาะผิวหน้าดินได้หลายแนวเทาง โดยเน้นความสามารถในการระบายน้ำที่ดีของวัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ เช่น บริเวณริมน้ำอาจใช้เรียงหินเพื่อป้องกันการกัดเซาะโดยนำ geotextile ไปปูรองก่อนเพื่อเป็นวัสดุกรองในการป้องกันดินไหลออก หรือ บริเวณลาดเชิงเขาอาจปลูกพืชคลุมดินโดยใช้ geotextile ไปเป็นวัสดุรองเพื่ออนุบาลพืชในช่วงเริ่มต้น


3. ตัวกรองวัสดุชั้นดี (Filtration)

งานที่ต้องใช้การระบายน้ำ เมื่อนำเอาแผ่นใยสังเคราะห์มาติดตั้งเอาไว้ จะช่วยกรองเอาวัสดุต่าง ๆ ให้แยกออกจากน้ำเพื่อ ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันหรือเศษขยะ เศษดินต่าง ๆ หลุดเข้าไป ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมจะช่วยให้ระบายน้ำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม 

เช่น การทำระบบระบายน้ำใต้ดิน (Sub-drain) ใต้สนามกีฬาหรือการจัดสวน ปรับปรุงภูมิทัศน์


4. เสริมความแข็งแรงให้กับวัสดุ (Reinforcement)

การติดตั้งแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดรับแรงดึงสูงที่ค่าการยืดตัวต่ำ เช่น ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid) หรือ วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดผสม (Geocomposite) ก็เหมือนกับเป็นการเพิ่มชั้นเลเยอร์ให้ตัววัสดุอีกระดับหนึ่ง ซึ่งแผ่นใยสังเคราะห์จะช่วยกระจายแรงที่เกิดขึ้นออกไปในแนวระนาบของแผ่นใยสังเคราะห์ จะลดภาระแรงกดที่กระจายลงสู่ชั้นดิน จึงช่วย ลดการทรุดตัว เสริมความแข็งแกร่ง ทนทานของชั้นโครงสร้าง ให้ใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

โดยลักษณะงานประเภทนี้ ต้องคำนึงถืงความเสี่ยงในการถูกทำลายจากสารเคมีหรือสิ่งรอบตัวต่าง ๆ ของโครงสร้างดินด้วย เพื่อไม่ให้วัสดุเกิดความเสียหายจากการกัดกร่อน (Chemical attack)


5. ป้องกันวัสดุอื่น ๆ ไม่ให้เกิดความเสียหาย (Protection)

ด้วยคุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่น ถักทอได้อย่างแน่นหนา แข็งแรง ทนทาน จึงมีหน้าที่สำคัญในการป้องกันความเสียหายให้กับวัสดุชนิดอื่น ๆ ที่ถูกนำไปใช้งาน เช่น การนำไปปูป้องกันวัสดุแผ่นพลาสติกทึบน้ำ (Geomembrane) เพื่อลดเหลี่ยมคมของหินที่อาจมาทิ่มเจาะทะลุ จึงทำให้มั่นใจได้เต็มที่ว่าไม่จะลดความเสียหายที่อาจตามมาอย่างแน่นอน ไม่แปลกที่บรรดาวิศวกรโยธาหรือช่างก่อสร้างที่เกี่ยวข้องจะเลือกใช้งานเป็นประจำ


ด้วยวัสดุแต่ละชนิดถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การทำความเข้าใจว่าวัสดุดังกล่าวมีหน้าที่อย่างไรจะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้นกว่าเดิม แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) เองก็เช่นกัน หากรู้และเข้าใจในหน้าที่แบบชัดเจน เมื่อถึงคราวต้องนำไปใช้ก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด


เรียนรู้การนำไปใช้งานเพิ่มเติม

https://www.geotextile-thailand.com/application.html



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาตรฐานการทดสอบน้ำหนัก geotextile

วิธีติดตั้งและการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่ถูกต้อง และได้ประสิทธิภาพ