บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2021

มาตรฐานการทดสอบน้ำหนัก geotextile

รูปภาพ
มาตรฐานการทดสอบน้ำหนัก geotextile   การทดสอบน้ำหนักต่อตารางเมตร ของ Geotextile การทดสอบน้ำหนักต่อตารางเมตรของ Geotextile เป็นการตรวจสอบวิธีหนึ่ง ที่จะตรวจวัดว่าแผ่นใยสังเคราะห์ที่เราซื้อมามีน้ำหนักต่อหน่วยได้ตามที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยน้ำหนักต่อหน่วยที่มากขึ้นหรือน้อยลง ก็จะมีผลให้คุณสมบัติทางวิศวกรรมด้านอื่นๆ ของ Geotextile ดีขึ้นหรือแย่ลงไปในทิศทางเดียวกัน คำถามคือจะทดสอบด้วยวิธีการไหนดี? ใช้มาตรฐานอะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุด โดยทั่วไปมาตรฐาน ASTM และ ISO ที่ระบุถึงวิธีในการทดสอบน้ำหนักต่อตารางเมตรของแผ่นใยสังเคราะห์ ที่เราอาจเคยเห็นจะมีดังนี้ ISO 9864 Geosynthetics — Test method for the determination of mass per unit area of geotextiles and geotextile-related products ASTM D5261  Standard Test Method for Measuring Mass per Unit Area of Geotextiles ASTM D3776  Standard Test Methods for Mass Per Unit Area (Weight) of Fabric แต่ถ้าลงไปดูในรายละเอียดการทดสอบ ASTM D3776 จะเป็นวิธีการทดสอบผ้าทั่วไป ซึ่งอาจใช้กับการทดสอบวัสดุที่เป็นผ้าทุกชนิด แต่ถ้าเราต้องการมาตรฐานที่ระบุว

Geotextile มี มอก. ไหม ?

รูปภาพ
  Geotextile มี มอก. ไหม ? มีหลายคนถามมาเยอะเลยครับว่า “Geotextile มี มอก. ไหม?” มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. ที่ออกโดย สมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางที่คนไทยคุ้นเคย และใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าต่างๆ ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกันสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมในบ้านเรา ก็มีหลากหลายมากมายจน สมอ. ก็ยังไม่สามารถออก มอก. สินค้าได้ครบทุกชนิด ซึ่ง Geotextile ก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ใช้งานในบ้านเรามายาวนาน แต่ก็ยังไม่มี มอก. เช่นเดียวกันครับ สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน web site ของ สมอ. เลยครับ https://www.tisi.go.th/ แล้วเราจะทดสอบ หรือ ได้อย่างไรว่า Geotextile ที่เราจะซื้อมาใช้ได้มาตรฐาน หรือ มีคุณสมบัติตามที่ผู้ขายได้แจ้งไว้หรือไม่   ในระดับสากล สำหรับงานทางด้านวิศวกรรมโยธา จะมีมาตรฐานการทดสอบที่ออกโดยตรงเพื่อทดสอบ Geotextile ไม่ว่าจะเป็น ASTM, ISO, BS Standard, JIS หรือ อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหลายสถาบัน หรือ หลายประเทศก็ออกมาตรฐานของตัวเองมากำหนดการทดสอบ Geotextile แต่สำหรับมาตรฐานที่นิยมนำไปใช้แพร่หลายที่สุด ก็คือ ASTM และ ISO Standard และในกา

วิธีติดตั้งและการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่ถูกต้อง และได้ประสิทธิภาพ

รูปภาพ
วิธีติดตั้งและการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่ถูกต้อง และได้ประสิทธิภาพ ในการนำเอาวัสดุชนิดใดก็ตามมาใช้งาน สิ่งสำคัญคือควรรู้วิธีติดตั้งหรือวิธีใช้วัสดุประเภทนั้น ๆ อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงช่วยทำให้ผลงานออกมาตรงกับแผนที่วางไว้ ใช้ประโยชน์ได้จริง แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) คือวัสดุอีกชนิดที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานวิศวกรรมโยธา การจัดสวน หรืองานปรับปรุงภูมิทัศน์ เช่น การป้องกันการกัดเซาะของน้ำ   การแยกเอาวัสดุถมใหม่กับดินเดิมออกจากกัน เป็นต้น จึงอยากนำเสนอวิธีติดตั้งแผ่นใยสังเคราะห์อย่างถูกต้อง เพื่อการใช้งานสุดคุ้มค่า แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) มีวิธีติดตั้งอย่างไร การปูแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ ควรเริ่มจากการปรับพื้นดินเดิมให้เรียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรเก็บเศษหินขนาดใหญ่ รากไม้ หรือเศษขยะที่มีความคมซึ่งอาจทำเสียหายโดยตรงต่อแผ่นใยสังเคราะห์ได้ออกก่อน หลังจากนั้นให้ปูแผ่นใยสังเคราะห์ให้เรียบและตึงที่สุดเท่าที่ทำได้เช่นกัน โดยสามารถเลือกปูในทิศทางใดก็ได้สะดวกกับหน้างาน หากเหลือเศษส่วนเกิน สามารถตัดได้โ

ตัวอย่างการใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) ที่พบเห็นได้บ่อย

รูปภาพ
ตัวอย่างการใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) ที่พบเห็นได้บ่อย   อย่างที่รู้จักกันดีว่า แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non-woven Geotextile) สามารถนำไปใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น ใช้สำหรับการเป็นวัสดุกรอง ใช้แยกวัสดุต่าง ๆ ไม่ให้รวมตัวกัน รวมถึงยังช่วยเสริมให้การใช้งานในบริเวณดังกล่าวมีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นด้วย แต่เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนสำหรับคนที่สนใจอยากนำเอาไปใช้ ก็มีตัวอย่างของการใช้งานวัสดุดังกล่าวมาฝากกันครับ รับรองว่าการเลือกซื้อจะง่ายขึ้นกว่าเดิม แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) กับตัวอย่างการนำไปใช้งาน 1. สร้างบ่อทรายภายในสนามกอล์ฟ สังเกตว่าสนามกอล์ฟทุกแห่งจะมีบ่อทราย เพื่อความสวยงามและเป็นอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับผู้เล่น ซึ่งบ่อทรายที่ว่านี้จะมีการนำเอาแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ ปูลงไปเพื่อทำการแยกชั้นทรายออกจากดิน ไม่ให้ทรายนั้นจมหายลงไปด้านล่าง ส่งผลให้ตัวทรายเองยังคงถูกจัดวางเอาไว้ด้านบนอย่างสวยงาม และนำไปใช้ห่อชั้นหินระบายน้ำ รวมถึงการพันที่ท่อระบายน้ำใต้ดิน เพื่อไม่ให้ทรายหรือมวลดินเข้าไปอุดตันการระบายน้ำออกจากบ่อทราย 2. ใช้ในการจัดสวน ส่วนใหญ่แ

รู้จักกระบวนการผลิตแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ (Non woven Geotextile)

รูปภาพ
รู้จักกระบวนการผลิตแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) ต้นแบบความคงทน อย่างที่รู้กันว่าแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ Geotextile จะนิยมนำไปใช้กับงานที่มีความหลากหลายมาก ๆ เช่น การรองพื้นด้านล่างโครงสร้างชั้นทางเพื่อนควบคุมการทรุดตัว, เป็นส่วนประกอบของงานทำเขื่อนเพื่อคอยป้องกันไม่ให้น้ำกัดเซาะ หรือการติดตั้งบริเวณชายฝั่งที่สุ่มเสี่ยงต่อการกัดเซาะของคลื่น ฯลฯ แต่อีกสิ่งที่น่าจะเป็นความสนใจของคนที่ต้องใช้วัสดุชนิดนี้ในการทำงานคือ กระบวนการผลิตของแผ่นใยสังเคราะห์ ซึ่งแผ่นใยสังเคราะห์ที่เป็นที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่ถักทอ (Non-Woven Geotextile) การผลิตจะเป็นอย่างไร ลองมาศึกษากันเลย กระบวนการผลิตแผ่นใยสังเคราะห์ (Non woven geotextile) สำหรับแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ คือแผ่นวัสดุชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ แต่ให้น้ำหนักเบามาก กระบวนการผลิตเบื้องต้นคือ จะมีการนำเอาเส้นใยชนิดต่าง ๆ เช่น โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หรือ โพลีโพรพีลีน (Polypropylene) ทั้งในแบบเส้นใยสั้น (Staple fiber) หรือ เส้นใยยาว (Continous filament) มาขึ้นรูปแบบไร้ทิศทาง (จึงถูกเรียกว่าแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ) ซึ่งลักษ

ลักษณะเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ในการใช้งาน

รูปภาพ
ลักษณะเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ในการใช้งาน   สำหรับคนในวงการที่รู้จักกับแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ Geotextile เป็นอย่างดีคงนึกภาพของการใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่กำลังวางแผนอยากทดลองใช้วัสดุตัวนี้อาจกำลังมีข้อสงสัยพอสมควรเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และความโดดเด่นที่เหมาะสมเมื่อนำมาใช้งาน เพื่อการคำนวณ วางแผนให้ออกมารอบคอบมากที่สุด จึงอยากแนะนำถึงลักษณะเด่นให้ได้เข้าใจ นอกจากการพิจารณาเพื่อเลือกใช้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังดึงเอาคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างน่าประทับใจ ลักษณะเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) 1. คงทน แข็งแรง ใช้งานได้ในระยะยาว ด้วยลักษณะของแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) จะถูกขึ้นรูปจากเส้นใยที่ยึดติดด้วยกรรมวิธีเข็มบดอัด (Needle punched) ไม่ใช่การทอแบบที่หลาย ๆ คนเข้าใจ นั่นส่งผลให้ Geotextile จะมีความสามารถในการระบายน้ำได้สูง มีความแข็งแรง ทนทาน เหนียว ไม่ฉีกขาดหรือยุ่ยเปื่อยง่าย ช่วยให้การใช้งานยาวนานและส่งผลดีมากขึ้นไปอีก 2. การขนส่งเพื่อนำไปใช้งานง่ายมาก ๆ   หลังจากการยึดติดด้วยเข็มบดอัดเสร็จเรียบร้อยจะมีการม้วนแผ่นใยสังเคราะห์เ