รู้จักกระบวนการผลิตแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ (Non woven Geotextile)

รู้จักกระบวนการผลิตแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) ต้นแบบความคงทน

อย่างที่รู้กันว่าแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ Geotextile จะนิยมนำไปใช้กับงานที่มีความหลากหลายมาก ๆ เช่น การรองพื้นด้านล่างโครงสร้างชั้นทางเพื่อนควบคุมการทรุดตัว, เป็นส่วนประกอบของงานทำเขื่อนเพื่อคอยป้องกันไม่ให้น้ำกัดเซาะ หรือการติดตั้งบริเวณชายฝั่งที่สุ่มเสี่ยงต่อการกัดเซาะของคลื่น ฯลฯ แต่อีกสิ่งที่น่าจะเป็นความสนใจของคนที่ต้องใช้วัสดุชนิดนี้ในการทำงานคือ กระบวนการผลิตของแผ่นใยสังเคราะห์ ซึ่งแผ่นใยสังเคราะห์ที่เป็นที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่ถักทอ (Non-Woven Geotextile) การผลิตจะเป็นอย่างไร ลองมาศึกษากันเลย





กระบวนการผลิตแผ่นใยสังเคราะห์ (Non woven geotextile)

สำหรับแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ คือแผ่นวัสดุชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ แต่ให้น้ำหนักเบามาก กระบวนการผลิตเบื้องต้นคือ จะมีการนำเอาเส้นใยชนิดต่าง ๆ เช่น โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หรือ โพลีโพรพีลีน (Polypropylene) ทั้งในแบบเส้นใยสั้น (Staple fiber) หรือ เส้นใยยาว (Continous filament) มาขึ้นรูปแบบไร้ทิศทาง (จึงถูกเรียกว่าแผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ) ซึ่งลักษณะของการผลิตที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือแบบเข็มบดอัด (Needle punched) ซึ่งจะใช้กระบวนการทางกลและความร้อนรวมกัน  จนทำให้เส้นใยดังกล่าวยึดติดกันจนแน่นเป็นแผ่น มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นตัวได้สูงและคงความสามารถในการระบายน้ำได้ดี จึงถือว่าเป็นวิธีผลิตที่น่าสนใจและสร้างความคุ้มค่าเมื่อถูกนำไปใช้งานเป็นอย่างมาก


คุณสมบัติเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile)

หลังจากรู้กระบวนการผลิตกันไปแล้ว คราวนี้เมื่อผลิตออกมาเป็นแผ่นเรียบร้อย แผ่นใยสังเคราะห์ที่ได้จะมีความโดดเด่นที่ต่างจากแผ่นวัสดุทั่ว ๆ ไป ดังนี้

  • เนื้อสัมผัสจะไม่มีการถักทอใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ผ่านกระบวนการตามที่ระบุเอาไว้ด้านบนจนเกิดการประสานกันของเส้นใย
  • สีของแผ่นใยสังเคราะห์ที่ออกมาจะเป็นสีขาว (สีธรรมชาติ) หรือ สามารถผสมสีเพิ่มในเส้นใยที่นำมาใช้ผลิตได้ตามต้องการ
  • ความกว้างและความยาวขึ้นอยู่กับการผลิตของแต่ละโรงงาน แต่ส่วนใหญ่มักอยู่ที่ความกว้าง 2 – 4 เมตร แต่ปัจจุบันโรงงานขนาดใหญ่สามารถทำได้สูงสุดถึง 6 เมตร และความยาว 50 – 300 เมตร 
  • น้ำหนักของ แผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอที่นิยมใช้จะตกประมาณ 120 – 200 กรัม / ตร.ม. จึงถือว่าเป็นอีกความโดดเด่นที่ทำให้นำไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตามด้วยน้ำหนักที่มากขึ้นก็จะมีความคงทนในการรับน้ำหนัก การต้านทานการฉีกขาดและการกดทับของวัสดุอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปัจจุบันสามารถผลิตได้สูงถึง 1,200 กรัม / ตร.ม. ขึ้นไป


จากที่กล่าวถึงกระบวนการผลิตของแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ Geotextile จัดเป็นวัสดุที่นำมาใช้งานอย่างแพร่หลายตามรูปแบบงานที่ได้กล่าวเอาไว้ ใครที่รู้ว่าตนเองต้องใช้งานวัสดุดังกล่าว การรู้ถึงขั้นตอนเบื้องต้นที่ถูกผลิตนี้จะช่วยให้เข้าใจและสามารถเลือกใช้ได้สอดรับกับงานอย่างเหมาะสม ถือเป็นวัสดุที่คุ้มค่าและตอบโจทย์กับการทำงานสุด ๆ ไปเลย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน้าที่สำคัญของ แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function)

มาตรฐานการทดสอบน้ำหนัก geotextile

วิธีติดตั้งและการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่ถูกต้อง และได้ประสิทธิภาพ