ตัวอย่างการใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) ที่พบเห็นได้บ่อย

ตัวอย่างการใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) ที่พบเห็นได้บ่อย 

อย่างที่รู้จักกันดีว่า แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non-woven Geotextile) สามารถนำไปใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น ใช้สำหรับการเป็นวัสดุกรอง ใช้แยกวัสดุต่าง ๆ ไม่ให้รวมตัวกัน รวมถึงยังช่วยเสริมให้การใช้งานในบริเวณดังกล่าวมีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นด้วย แต่เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนสำหรับคนที่สนใจอยากนำเอาไปใช้ ก็มีตัวอย่างของการใช้งานวัสดุดังกล่าวมาฝากกันครับ รับรองว่าการเลือกซื้อจะง่ายขึ้นกว่าเดิม


แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) กับตัวอย่างการนำไปใช้งาน

1. สร้างบ่อทรายภายในสนามกอล์ฟ

สังเกตว่าสนามกอล์ฟทุกแห่งจะมีบ่อทราย เพื่อความสวยงามและเป็นอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับผู้เล่น ซึ่งบ่อทรายที่ว่านี้จะมีการนำเอาแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ ปูลงไปเพื่อทำการแยกชั้นทรายออกจากดิน ไม่ให้ทรายนั้นจมหายลงไปด้านล่าง ส่งผลให้ตัวทรายเองยังคงถูกจัดวางเอาไว้ด้านบนอย่างสวยงาม และนำไปใช้ห่อชั้นหินระบายน้ำ รวมถึงการพันที่ท่อระบายน้ำใต้ดิน เพื่อไม่ให้ทรายหรือมวลดินเข้าไปอุดตันการระบายน้ำออกจากบ่อทราย

การใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สำหรับการก่อสร้างบ่อทราย



2. ใช้ในการจัดสวน

ส่วนใหญ่แล้ว แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non-woven geotextile) จะนิยมนำมาใช้ในการจัดสวนหิน ซึ่งต้องบอกก่อนว่าในอดีตนั้นเวลาทำสวนประเภทนี้มักเลือกใช้ตาข่ายพลาสติกมาปูเพื่อแยกเอาชั้นดินกับชั้นหินออกจากกัน คราวนี้สิ่งที่ต้องปวดหัวคือ บรรดาเศษวัชพืชต่าง ๆ ที่อยู่กับดินจะค่อย ๆ เติบโตและแทงทะลุออกมาดูไม่สวยงาม ดังนั้นเมื่อใช้วัสดุชนิดนี้แทนจะช่วยให้การแยกชั้นวัสดุมีความชัดเจน ป้องกันหรือลดจำนวนการที่วัชพืชจะขึ้นมากวนใจ แถมยังระบายน้ำได้ดี ไม่มีขัง




3. งานก่อสร้างถนน หรือ การถมดินบนพื้นที่ดินอ่อน

ในการก่อสร้างงานประเภทนี้ แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) คืออีกวัสดุหลักอีกตัวที่สามารถนำไปเสริมความมั่งคงแข็งแรงของโครงสร้างถนนได้ ด้วยการนำไปใช้แยกชั้นวัสดุมวลรวมใหม่ ไม่ให้จมตัวรวมกับดินอ่อนเดิม ซึ่งจะเป็นการควบคุมการทรุดตัวของชั้นโครงสร้างทาง จะทำให้ผิวทางไม่แตกร้าวได้ง่าย

การใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สำหรับงานถมดินบนพื้นที่ดินอ่อน



4. ตัวช่วยป้องกันการกัดเซาะบริเวณตลิ่ง

สังเกตว่าบริเวณถนนหรือเขื่อนกั้นต่าง ๆ ที่อยู่ริมตลิ่งซึ่งต้องพบเจอการซัดของคลื่นน้ำบ่อย ๆ จะต้องมีการออกแบบป้องกันการกัดเซาะ ในลักษณะต่างๆ เช่น การเรียงหินใหญ่ การเรียงกล่องลวดตาข่าย หรือแม้กระทั่งการตอกเสาเข็มคอนกรีตเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ทนทาน ซึ่งตรงนี้เอง แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non-woven geotextile) จะถูกนำมาปูตรงส่วนที่ติดกับชั้นของดิน เพื่อให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย แต่กันตัวดินจะไม่เคลื่อนตามไปด้วย

การใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สำหรับเป็นวัสดุกรองหลังเขื่อนเรียงหินป้องกันการกัดเซาะ



นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่บ่งบอกว่าแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งการใช้งานดังกล่าวนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การก่อสร้างหรือชิ้นงานดังกล่าวสำเร็จออกมาได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีปัญหาอื่นในภายหลัง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน้าที่สำคัญของ แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function)

มาตรฐานการทดสอบน้ำหนัก geotextile

วิธีติดตั้งและการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่ถูกต้อง และได้ประสิทธิภาพ