ลักษณะเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ในการใช้งาน

ลักษณะเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ในการใช้งาน 

สำหรับคนในวงการที่รู้จักกับแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ Geotextile เป็นอย่างดีคงนึกภาพของการใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่กำลังวางแผนอยากทดลองใช้วัสดุตัวนี้อาจกำลังมีข้อสงสัยพอสมควรเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และความโดดเด่นที่เหมาะสมเมื่อนำมาใช้งาน เพื่อการคำนวณ วางแผนให้ออกมารอบคอบมากที่สุด จึงอยากแนะนำถึงลักษณะเด่นให้ได้เข้าใจ นอกจากการพิจารณาเพื่อเลือกใช้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังดึงเอาคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างน่าประทับใจ



ลักษณะเด่นของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile)

1. คงทน แข็งแรง ใช้งานได้ในระยะยาว

ด้วยลักษณะของแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) จะถูกขึ้นรูปจากเส้นใยที่ยึดติดด้วยกรรมวิธีเข็มบดอัด (Needle punched) ไม่ใช่การทอแบบที่หลาย ๆ คนเข้าใจ นั่นส่งผลให้ Geotextile จะมีความสามารถในการระบายน้ำได้สูง มีความแข็งแรง ทนทาน เหนียว ไม่ฉีกขาดหรือยุ่ยเปื่อยง่าย ช่วยให้การใช้งานยาวนานและส่งผลดีมากขึ้นไปอีก


2. การขนส่งเพื่อนำไปใช้งานง่ายมาก ๆ 

หลังจากการยึดติดด้วยเข็มบดอัดเสร็จเรียบร้อยจะมีการม้วนแผ่นใยสังเคราะห์เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง อีกทั้งน้ำหนักของตัวผลิตภัณฑ์ยังมีน้ำหนักเบาสุด ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนเยอะเกินไปสำหรับการติดตั้งหรือขนส่ง ประหยัดต้นทุนได้ดีทีเดียว


3. อายุการใช้งานกว่า 10-20 ปี

จากความแข็งแรงทนทานที่ได้กล่าวเอาไว้ในข้อ 1 ทำให้เมื่อติดตั้ง Geotextile แล้ว จะสามารถใช้งานได้ยาวนานเป็น 10-20 ปี เลยทีเดียว เท่ากับว่าไม่จำเป็นต้องลงทุนเปลี่ยนกันบ่อย ๆ พร้อมนำเงินไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่สร้างผลกำไรหรือได้รับความคุ้มค่ากลับมาอีกหลายเท่าตัว สิ่งที่ต้องระวังอย่างเดียวคือ ระหว่างการติดตั้งอย่าให้แผ่นใยสังเคราะห์ต้องตากแดดโดยตรง เป็นระยะเวลานาน (1-3 เดือน) เพราะแสง UV จะทำให้คุณสมบัติทางวิศวกรรมของแผ่นใยลดลงได้เร็ว


4. ทนต่อความร้อนและสารเคมีได้สูงมาก ๆ 

อีกลักษณะเด่นที่ทำให้แผ่นใยสังเคราะห์ถูกนำมาใช้ในงานแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนได้สูงมาก อีกทั้งยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ส่งผลให้วัสดุไม่ฉีกขาดหรือย่อยสลายง่าย แม้ต้องเจอกับระดับความร้อนหรือสารเคมีปริมาณมาก หากไม่ถึงขั้นรุนแรงจริง ๆ ก็คงยากที่จะทำลาย Geotextile

 

5. ยืดหยุ่นเป็นเลิศ 

แม้ตัววัสดุจะมีความแข็งแรง ทนทาน แต่ก็ยังคงซ่อนไว้ด้วยความยืดหยุ่นเมื่อใช้งานจริง ตรงนี้เองที่ช่วยให้แผ่นใยสังเคราะห์สามารถนำไปทำกับงานได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่การป้องกันการกัดเซาะขอบตลิ่งเพียงอย่างเดียว เช่น การนำไปเป็นส่วนหนึ่งของรางรถไฟ, การสร้างคันทาง งานปรับปรุงภูมิทัศน์ ฯลฯ


จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คงเห็นได้ชัดเจนว่าแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ Geotextile ถือเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามาก ๆ เพราะลักษณะเด่นที่มีอยู่ในตัว ดังนั้นใครที่ยังเป็นกังวลหรือไม่แน่ใจว่าควรใช้หรือไม่ หากงานที่คุณทำบ่งบอกว่าต้องเป็นวัสดุประเภทนี้ก็เลือกใช้ได้ทันที ไม่ต้องคิดมากครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน้าที่สำคัญของ แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function)

มาตรฐานการทดสอบน้ำหนัก geotextile

วิธีติดตั้งและการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่ถูกต้อง และได้ประสิทธิภาพ